นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
สกู๊ป
ถ้าใช้”วาทกรรม”แล้วยุติ เมืองต้นแบบได้
การพัฒนาชายแดนใต้ ก็คงจะจบกันแค่นี้
กลุ่มชาวบ้านกว่า 50 คน จาก อ.จะนะ ที่นำโดย เอ็นจีโอ และ นักวิชาการ ที่เดินทางไปปักหลัก หน้าทำเนียบ รัฐบาล เพื่อ ยื่นหนังสือคัดค้าน “เมืองต้นแบบที่ 4” ซึ่งเป็นโครงการของรัฐบาล ที่ต้องการ พัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงปักหลักอยู่ที่หน้าทำเนียบเป็นวันที่ 4 เพื่อ รอพบกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งการสร้าง”วาทกรรม” ถ้าไม่มีคำสั่งให้ “ยุติ” โครงการ ก็จะไม่กลับบ้าน และจะยกระดับการ ชุมนุม ซึ่งก็เหมือนกับทุกครั้งที่ มีการ ประท้วง หรือ ชุมนุม ก็จะมี “วาทกรรม” เช่นนี้มาโดยตลอด
กลุ่มผู้ประท้วงกลุ่มนี้ ปฏิเสธที่จะ”พูดคุย” เพื่อทำความเข้าใจกับ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต.) เพราะเข้าใจว่า ศอ.บต. รับคำสั่งจาก รัฐบาล ให้เป็น”เจ้าภาพ” ในการ”บูรณาการ” หน่วยงานในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนโครงการ”เมืองต้นแบบที่ 4” ตาม มติ ของ ครม. และอีกอย่าง กลุ่มคนกลุ่มนี้ “ฟันธง”ไปแล้วว่า ไม่เอาโครงการทุกโครงการ ที่จะเกิดขึ้นใน อ.จะนะ หรือ ในจังหวัดสงขลา เช่นเดียวกับ ไม่เอาโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย ไม่เอาโรงไฟฟ้าจะนะ ไม่เอาท่าเรือน้ำลึกแห่งที่ 2 ดังนั้นจึงจะมี เวที ให้พบปะพูดคุย ก็เป็นเพียงเวทีการแสดงออกทาง”วาทกรรม” ว่า”ไม่เอา” ไม่ใช่เวทีการพูดคุย เพื่อร่วมแก้ปัญหา และร่วมหาทางออก
การชุมนุม ประท้วงที่หน้าทำเนียบก็เช่นเดียวกัน กลุ่มผู้ประท้วง ต้องการพบกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อ แสดงจุดยืนในการ “ไม่เอา” เมืองต้นแบบที่ 4 เพราะ เชื่อว่าเป็นโครงการทำ ไม่มีประโยชน์ต่อคนในพื้นที่ มีประโยชน์เฉพาะกับกลุ่มทุน และนอกจากไม่มีประโยชน์แล้ว ยังเป็นการทำลายทรัพย์กรธรรมชาติ ทำลายอาชีพ วิถี วัฒนธรรม
ซึ่งทั้งหมดคือ”วาทกรรม” เพราะโดยข้อเท็จจริง สิ่งที่ เอ็นจีโอ ใส่ให้กับคนกลุ่มนี้เป็นเพียง”วาทกรรม” ที่ยังไม่เคยมีเรื่องจริงเกิดขึ้น ที่กล่าวว่า ถ้ามีโครงการ ทะเลจะเสียหาย ปลาจะไม่มีให้จับ อาชีพประมง อาชีพ เกษตรกร จะ สูญหาย ใครจะรับรองว่าเป็นเรื่องจริง
เพราะก่อนหน้านี้ “วาทกรรม” ของ กลุ่มผู้คัดค้านโรงงานแยกก๊าซ และ โรงไฟฟ้าจะนะ ก็เคยสร้าง”วาทกรรม”กับคนในพื้นที่ว่า ถ้าโรงแยกก๊าซเกิดขึ้น “ นกเขาจะไม่ขัน” คนจะได้รับ “มลพิษ” ถ้ามีโรงไฟฟ้าเกิดขึ้น จะเลี้ยงปลาไม่ได้ ปลาในท้องทะเลจะ”เป็นหมัน”
วันนี้ โรงงานแยกก๊าซ นำก๊าซจากอ่าวไทยขึ้นมา จนใกล้จะหมดแล้ว และโรงไฟฟ้าโรง 1 ใกล้จะปลดระวาง มีการสร้างโรงที่ 2 เกิดขึ้นหลายปีแล้ว สังคมของคนจะนะ ยังอยู่กันเป็น”ปกติสุข” อาชีพเลี้ยงนกเขายังอยู่ อาชีพเลี้ยงปลาในกระชังยังอยู่ ปลาในทะเลจะนะอุดมสมบูรณ์กว่าเดิม และ ยังไม่มีใคร ป่วย หรือ ตาย เพราะได้รับ”มลพิษ” จาก โรงงานอุตสาหกรรม ที่เกิดขึ้น
ผู้ชุมนุมที่หน้าทำเนียบ กล่าวหาว่า ศอ.บต. อ้างมีผู้สนับสนุนโครงการจำนวนมากว่า เป็นเพียงรายชื่อใน”กระดาษ” แสดงว่า ไม่มีตัวตน เป็นการ กล่าวเพื่อ “ยุยง” ให้ กลุ่มคนที่ ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงจะนะด้วยการ พัฒนาด้วย อุตสาหกรรม ออกมา แสดงตน เพื่อสร้างความ ขัดแย้ง ในสังคม ซึ่งเป็นไปตามแผนของ เอ็นจีโอ ใช่หรือไม่
และถ้ากลุ่มคนในจะนะ ที่สนับสนุนให้เกิด เมืองต้นแบบที่ 4 ออกมา สนับสนุนเพื่อให้รัฐบาล เร่งดำเนินการ โครงการเมืองต้นแบบให้เร็วขึ้น เอ็นจีโอ กลุ่มนี้ก็จะ บอกว่า ผู้ออกมาสนับสนุนโครงการ คือมวลชน” จัดตั้ง” ที่ กลุ่มทุนให้กับสนับสนุน นี่คือการ วางแผนเพื่อที่จะใช้”วาทกรรม” ในการขับเคลื่อนการชุมนุมประท้วง
กลุ่มคนที่อยากเห็นความขัดแย้ง ของคนในพื้นที่จาก โครงการนี้ คือ เอ็นจีโอ ที่อยู่เบื้องหลังผู้ประท้วง เพราะหากสามารถสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นได้ ก็จะมีความชอบธรรม ในการที่จะชี้ให้ รัฐบาลเห็นว่า เกิดความแตกแยกในชุมชนในพื้นที่ แต่เมื่อสิ่งที่ เอ็นจีโอ ออกมาพูด เป็นเพียง “วาทกรรม” ก็ไม่มีเหตุผลใด ที่รัฐบาล จะให้ น้ำหนัก ให้ความสำคัญ จนต้องมีการ ชะลอโครงการ ออกไป
เพราะ รัฐบาลเอง ก็เห็นชัดอยู่แล้วว่า ปัญหาอุปสรรคของการไม่พัฒนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มทุน ที่มาลงทุน ต้อง ถอยออกไป เช่น โรงงานเฟอร์นิเจอร์ เพื่อการส่งออก ที่ ตั้งอยู่ใน อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ย้ายฐานการผลิตไปยัง พื้นที่ใกล้เคียง ท่าเรือน้ำลึก ที่แหลมฉบัง มาจากการที่ เราไม่มีท่าเรือน้ำลึก ให้เขาส่งสินค้า ไม่ใช่มาจาก โรงงานตั้งอยู่ใน ผังเมือง”สีเขียว” อย่างที่มีการโจมตีกัน
การแก้ปัญหาด้วยการ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ตั้งสถานี ขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ ที่สถานีนาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ที่ ศอ.บต. ผลักดัน เป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้กับ นักลงทุน เท่านั้น ไม่ใช่การาแก้ปัญหาที่ยั่งยืน เพราะการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน คือ ต้องมี ท่าเรือน้ำลึก ต้องมีอุตสาหกรรม สำหรับคน ว่างงาน คนตกงาน และ คนที่จบการศึกษาออกมา
ภาพของคนตกงาน ที่กลับจากมาเลเซียและเดินทางไป ทำงานในโรงงานที่ อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี ซึ่ง ศอ.บต. เป็นผู้ ติดต่อประสานงาน เพื่อแก้ปัญหาคนตกงาน คือภาพที่เห็นแล้วต้อง “สะทกสะท้อน” เพราะเป็นการ สะท้อนปัญหาที่ชัดเจนที่สุด ว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้ของเรา มีปัญหาเรื่องคนว่างงาน มีปัญหาการลงทุน ที่ต้องแก้ และต้องทำให้เกิดการพัฒนา และการพัฒนาที่ได้ผล ต้องมีโครงการขนาดใหญ่เพื่อรองรับคนว่างงาน คนตกงาน และคนที่จบการศึกษาปีละหลายหมื่นคน
การส่งเสริมให้มีการตั้งโรงงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดละไม่กี่โรง เป็นการช่วยคนตกงานให้มีงานทำในระดับหนึ่งเท่านั้น การพัฒนาด้วยการส่งเสริมการเกษตรแผนใหม่ ก็เป็นการช่วยคนในพื้นที่ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่การแก้ปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างแท้จริง ต้องมีการ พัฒนาด้วยโครงการขนาดใหญ่อย่าง”เมืองต้นแบบที่ 4” เท่านั้น จึงจะแก้ปัญหาได้
วันนี้หน่วยงานที่เกี่ยวกับรัฐไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม โยธาธิการ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายความมั่นคง ต้องร่วมแรงร่วมใจ ผลักดันโครงการนี้ด้วยกัน ไม่ใช่ทำตัวแบบ”ใส่เกียร์ว่าง” ประคองตัวเอง เพราะการเอาตัวรอด เพราะโครงการนี้ เป็นโครงการของรัฐบาล ที่ต้องการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ผู้คนสามารถที่จะมีงานทำ มีความมั่นคงในชีวิต ซึ่งจะโยงไปถึงปัญหาเรื่องของการก่อการร้าย ด้วยเช่นกัน
ดังนั้นทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกันให้มากกว่าที่เห็น ในการช่วยกัน”ชักฟืน” ออกจากเตา และป้องกันการ เติมฟืน เข้าไปใหม่ เชื่อเถอะ เอ็นจีโอ และกลุ่มคนที่ เชื่อฟัง เอ็นจีโอ มีเพียง”หยิบมือเดียว” ถ้าทุกหน่วยงานของรัฐร่วมใจกันในการ”ราฟืนออกจากเตา” ไม่ช้าไฟกองนี้ก็จะ มอดไปเอง
ถ้า รัฐบาล ยังบ้าจี้ เชื่อคนเพียง “หยิบมือเดียว” โดยไม่เคารพเสียงของคนส่วนใหญ่ รัฐบาลก็สมควรที่จะให้ เด็กๆ ไล่กลับบ้าน ไม่สมควรที่จะบริหารประเทศนี้อีกต่อไป