ม.ราชภัฏสงขลานำลวดลายพื้นถิ่นจาก กรงนกกรงหัวจุก ลวดลายประตูบ้านโบราณ ลวดลายบนประตูโบสถ์ ทำสกีนทำบนลงผ้า เป็นผ้าคลุม สโร่ง มุสลิมชาย หญิง สวยงามอย่างลงตัว สร้างมูลค่าดึงดูดนักท่องเที่ยว
………………………………………………………………………………..
วันที่ 17 ธันวาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการกลุ่มการกิจบริหารระบบงบประมาณ ววน. เปิดเผยว่า ปัจจุบันทางมหารวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มีการสร้างเรื่องส่งเสริมการดำรงชีพ และการวิจัยคุณภาพชีวิต โดยเรามีวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล ได้จัดทำการวิจัยส่งเสริมอัตลักษณ์ลักษณะพื้นที่พื้นถิ่นในจังหวัดสตูล
โดยเราได้สำรวจขั้นตอนกระบวนการเวคเตอร์ เพื่อไปสู่กระบวนการออกแบบลวดลาย ซึ่งได้ลงพื้นที่ทำวิจัยทั้งอำเภอเมือง อำเภอทุ่งหว้า และอำเภอมะนัง ได้เก็บภาพเกี่ยวกับรูปกรงนกหัวใจ ที่กรงนกมีลวดลายสวยงาม รวมทั้งบ้านโบราณทรงที่มีลวดลายสวยงาม และกำแพงโบสถ์วัด ฝาพนัง และถ้วยชามตาไก่โบราณ แม้กระทั้ง กระต่ายขูดมะพร้าวที่มีลวดลายสวยงาม ยังมีรูปฟอสซิลที่จังหวัดสตูลนั้นเป็นอุทยานธรณีโลกมีทั้งรูปเปลือกหอยต่างๆนานาๆชนิดที่ดึกดำบรรพ์ มาแกะสลักบนแผ่นไม้เป็นแม่พิมพ์ในการแกะสลักพิมพ์ด้วยสีธรรมชาติที่ทำจากดินลงบนผ้า สีขาวอย่างสวยงามที่ลงตัว ตัดเป็นชุดราตรี ชุดเดส กระโปร่ง และที่สำคัญลวดลายที่สวยงามนั้น ยังนำไปทำเป็นชุดมุสลิมผู้หญิง มีผ้าคลุม เสื้อแขนยาว ผ้าถุง ส่วนชุดมุสลิมผู้ชายเป็นชุดสโร่ง เสื้ออย่างลงตัว
ด้านนางสาวอมรรัตน์ บุญสว่าง อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ราชภัฏสงขลา กล่าวว่า แนวผ้าบาติก และแนวผ้าปาแต๊ะในภาคใต้นี้ ผลิตเยอะอยู่แล้วเป็นวิถีชีวิตของคนภาคใต้ ซึ่งจังหวัดสตูลนั้นเป็นพื้นที่อุทยานธรณีโลก เรานั้นก็เอาลวดลายเอกลักษรณ์ในพื้นที่มาทำเป็นเสื้อผ้า มุสลิมหรือแฟชั่น ทำให้เกิดความจดจำ เมื่อเห็นชุดเสื้อผ้าก็สะท้อนวิถีชีวิตของคนท้องถิ่นในจังหวัดสตูล พบเห็นบ้านเรือนที่มีลักษณะแบบนี้ ปรากฏอยู่บนพื้นผ้าของเรา เป็นสตอรี่เล่าว่านี่คือสตูล หากใครไปสวมใส่ อยู่ที่ผืนละ 2,000 บาทเพราะอยู่ที่การทำที่ไม่ซ้ำใคร โดยบล็อกรูปเราแกะสลักจากไม้ ใช้สีเทียบประทับลงพื้นผ้า และใช้สีธรรมชาติมัดยอม หากใครสนใจโทรสอบถามได้ 0848552752 เบอร์อาจารย์เราจะแนะนำไปซื้อได้ถูกจุด โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ชอบเสื้อผ้าธรรมชาติ
……………………………………………………………………………………
ภาพ… โชว์ชุดลวดลายโบราณ