จังหวัดเชียงราย จัดการประชุมหน่วยงานภายใต้ความร่วมมือโครงการบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตในกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน (จังหวัดเชียงราย) ครั้งที่ 1/2564 เพื่อพิจารณาแนวทางการบูรณาการความร่วมมือในการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน
ว่าที่ ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุมหน่วยงานภายใต้ความร่วมมือในโครงการบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตในกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน (จังหวัดเชียงราย) เมื่อเช้าวันศุกร์ที่ 23 เมษายน 2564 ที่ห้องประชุมพญาพิภักดิ์ (ชั้น 2) ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ถนนแม่ฟ้าหลวง ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย
ซึ่งกิจกรรมนี้ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย จัดขึ้นเพื่อพิจารณาแนวทางการบูรณาการความร่วมมือในการดำเนินโครงการบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในกลุ่มเปราะบางระดับรายครัวเรือน ระหว่างหน่วยงานในระดับพื้นที่จังหวัด เพื่อรองรับสถานการณ์ปัญหาสังคมที่มีความชับซ้อน รวมทั้งวิกฤต เศรษฐกิจ และการเข้าถึงบริการภาครัฐ
นางอรนุช ชัยชาญ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า โครงการบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในกลุ่มเปราะบางระดับรายครัวเรือน ระหว่างหน่วยงานระดับพื้นที่จังหวัด จัดขึ้นเพื่อรองรับสถานการณ์ปัญหาสังคมที่มีความชับซ้อน รวมทั้งวิกฤติเศรษฐกิจ การเข้าถึงบริการภาครัฐ และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ทวีความรุนแรง อันส่งผลกระทบต่อคน ทุกช่วงวัย ทุกกลุ่มอาชีพ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง อาทิ ครอบครัวยากจนที่มีเด็กเล็ก ครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป้วยติดเดียง ผู้ที่อยู่ในภาวะยากลำบากและประสบปัญหาด้านที่อยู่อาศัย
สำหรับการสร้างความร่วมมือที่จะเกิดขึ้น สืบเนื่องจาก เมื่อวันพุธที่ 3 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ได้มีพิธีลงนามในบันทึกความร่วมมือการดำเนินโครงการฯ ระหว่างหน่วยงานระดับกระทรวง12 กระทรวงหน่วยงาน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการรับหลักการความมุ่งมั่นและเห็นความสำคัญในการช่วยเหลือกลุ่ม เปราะบางและลดความเหลื่อมล้ำของประชาชน รวมถึง การพัฒนาคนทุกช่วงวัย เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยไม่ทั้งใครไว้ข้างหลังตามนโยบายของรัฐบาล
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน เป็นหนึ่งในโครงการสนับสนุนตามแผนยุทธศาสตร์ซาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561- 2580) ประเด็นยุทธศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เริ่มมีนโยบายสนับสนุนกลไกการขับเคลื่อนเข้าถึงการช่วยเหลือสำหรับกลุ่มเปราะบางหลายกลุ่มที่มีสภาพความเป็นอยู่ ต้องอาศัยการพึ่งพิง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประสบปัญหาทางสังคม และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ และสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) อันจะทำให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ลงไปอีก
จึงได้มีการเฝ้าระวัง ติดตาม และมีแนวทางการช่วยเหลือกลุ่มครัวเรือนยากจน ขาดอาชีพและรายได้ ครัวเรือนคนพิการอยู่ในภาวะยากลำบาก และครัวเรือนที่มีเด็ก คนป่วยติดเดียง และผู้สูงอายุที่ต้องเลี้ยงดูแต่มีความลำบากขัดสน ด้วยการสงเคราะห์และจัดสวัสดิการในกลุ่มดังกล่าวมากขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 พร้อมทั้ง ได้เสนอโครงการฯ ที่มีหลักการ และแนวทางการใช้ฐานข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคน แบบชี้เป้า (TP-Map) เช่นเดียวกับอีกหลายหน่วยงานที่ใช้ฐานข้อมูลจากระบบเป็นข้อมูลนำทางการดำเนินกิจกรรม/โครงการเช่นนี้
สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนโครงการฯ ของกระทรวง พม. ที่เริ่มต้นในปี พ.ศ.2564 เริ่มต้นจากการคำเนินงานและประสานความร่วมมือในหน่วยงานระดับกรม กลุ่มจังหวัดและพื้นที่ ซึ่งครัวเรือนเปราะบาง คือ ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย และมีบุคคลที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือจากคนอื่น สรุปใด้ในภาพรวมได้ 5 แนวทาง ได้แก่ 1) 1กรม 1พื้นที่พัฒนา หน่วยงานระตับกรมของกระทรวง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กำหนดให้ดำเนินการเกิดผลย่างเป็นรูปธรมในพื้นที่อย่างน้อย จ พื้นที่พัฒนาตัวอย่าง 2)ตืองันฮาตี โครงการคือนฮาตี – ทำดีด้วยใจ เป็นโครงการนำร่องดำเนินการเฉพาะ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล )โดยรัฐมนตรีนำต้นแบบจากจีนมาปรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับครอบครัวในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3)โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นความร่วมมือโครงการฯ ใน 12 หน่วยงาน ในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จ และแม่นยำระดับหน่วยงาน ประสานความร่วมมือและใช้ข้อมูลนำการพัฒนาในหลักการดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมคนจนมีความเข้มแข็ง ได้รับการฝึกทักษะ ได้รับโอกาสใหม่ เพิ่มโอกาสเข้าสู่ระบบศึกษา รวมทั้งต้องสร้างและปลุกเร้าครอบครัวให้เป็นแกนในการแก้ปัญหาความยากจน และ 4) 76 จังหวัด ทำความเข้าใจในระดับนโยบาย การรับทราบแนวทางการใช้ฐานข้อมูลและการติดตามการพัฒนาครัวเรือนเป้าหมายอย่างบูรณาการในพื้นที่
โครงการบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน เป็นความร่วมมือในการบูรณาการการทำงานในระหว่าง 13 หน่วยงาน ประกอบด้วย 13 หน่วย ประกอบด้วย(1) สำนักนายกรัฐมนตรี
(2) กระทรวงศึกษาธิการ (3)กระทรวงกลาโหม (4)กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา
(5)กระทรวงมหาดไทย (6)กระทรวงการอุดมศึกษา (7)กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(8)กระทรวงพาณิชย์ (9)กระทรวงวัฒนธรรม (10)กระทรวงสาธารณสุข (11)กระทรวงแรงงาน (12)กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ (13)กรุงเทพมหานคร
ในส่วนของจังหวัดเชียงราย มีฐานข้อมูลบุคคลที่ได้รับการชี้เป้าในระบบบริหารจัดการข้อมูลพัฒนาคนแบบชี้เป้า ซึ่งได้มาจากฐานการสำรวจ จปฐ. ปี พ.ศ.2562 และผู้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 40,744 คน
โอกาสเดี่ยวกันนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาเพิ่มให้พัฒนาการจังหวัดเชียงราย เป็นเลขาคณะทำงานร่วมกับพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนการทำงานให้เกิดความต่อเนื่องต่อไปด้วย
……………………………………..
ชาติณรงค์ ปัญญาฟู.. ข่าวจังหวัดเชียงราย