ม.มหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เชิญชวนท่องเที่ยวในชุมชนเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นไทย พร้อม ร่วมพลักดันแนวคิดชุมชนท่องเที่ยว นวัตวิถี ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและความสำเร็จอย่างยั่งยืนให้แก่ผู้ประกอบการในชุมชน

ม.มหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เชิญชวนท่องเที่ยวในชุมชนเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นไทย พร้อม ร่วมพลักดันแนวคิดชุมชนท่องเที่ยว นวัตวิถี ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและความสำเร็จอย่างยั่งยืนให้แก่ผู้ประกอบการในชุมชน

กาญจนบุรี ม.มหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เชิญชวนท่องเที่ยวในชุมชนเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นไทย พร้อม ร่วมพลักดันแนวคิดชุมชนท่องเที่ยว นวัตวิถี ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและความสำเร็จอย่างยั่งยืนให้แก่ผู้ประกอบการในชุมชน

วันนี้ 07 ธ.ค. 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อาจารย์ ดร.ภวินท์ธนา เจริญบุญ อาจารย์ผู้รับผิดชอบกลุ่มวิชาอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้เปิดเผยว่า “มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เป็นสถาบันการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาพร้อมพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่ชุมชนท้องถิ่นและประเทศชาติอย่างยั่งยืน จึงได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี โดยช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนธุรกิจใหักับชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีของจังหวัด พร้อมทั้งลงพื้นที่เพื่อค้นหาทรัพยากรทางการท่องเที่ยวและจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวให้แก่ชุมชนต่างๆ ซึ่งโครงการ “ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี” มีแนวคิดที่จะเชื่อมโยงภูมิปัญญา และวิถีชุมชน กับผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของชุมชน นำมาซึ่งรายได้ และการตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรในชุมชน

จากเดิมธุรกิจในชุมชนส่วนใหญ่มักทำผลิตภัณฑ์ตามความเคยชินและเชี่ยวชาญ และยัง “ผลัก” ให้ผลิตภัณฑ์และคนในชุมชนไปค้าขายภายนอก แต่ด้วยแนวคิดชุมชนท่องเที่ยวนประกอบธุรกิจในชุมชนให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าที่แตกต่างแก่ผลิตภัณฑ์ และ “ดึง” เอาคนจากภายนอกมาซื้อผลิตภัณฑ์ และมาท่องเที่ยวในชุมชนแทน ซึ่งแนวคิดดังกล่าวจะเป็นจริงได้นั้น คนในชุมชนต้องค้นหา เข้าใจ และใช้เสน่ห์จากภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และความคิดสร้างสรรค์สร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นในสายตาของผู้ซื้อ และนักท่องเที่ยว ได้ซื้อหาผลิตภัณฑ์ รวมถึงร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน ส่งผลให้เกิดการกระจายรายสู่ธุรกิจที่มีความเชื่อมโยงกันภายในชุมชน อีกทั้งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากตามนโยบายด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับกับการสร้างการมีส่วนร่วมและการกระจายรายได้ ดังเห็นได้จากแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560-2564 ที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์ให้มีการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยว ซึ่งกำหนดแนวทางการพัฒนาโดยการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและ ได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยว และเชื่อมโยงมายังแผนพัฒนากา

โดยแนวคิดดังกล่าว ได้มีตัวอย่างของผู้นำชุมชน ที่นำแนวคิดดังกล่าวไปปรับใช้ และได้รับการยืนยันว่าทำได้จริง โดยผู้ใหญ่ยอด อื่มพลับ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลวังสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ได้เปิดเผยว่า “การขายสินค้าชุมชน โดยการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยวในชุมชนเป็นข้อได้ปรียบมากกว่าการนำสินค้าออกไปจำหน่ายนอกของชุมชน ซึ่งการขายสินค้านอกชุมชนบางครั้งไม่สามารถจำหน่ายได้เลย เพราะไปไม่ถึงจุดที่ผู้บริโภคต้องการ แต่ถ้าสามารถดึงดูดให้ผู้บริโภคมาท่องเที่ยวในชุมชน โอกาสที่
สินค้าจะจำหน่ายได้ค่อนข้างสูง เพราะผู้บริโภคมีความสนใจเรื่องราวของของชุมชน สินค้าของชุมชนก็มีโอกาสเป็นที่สนใจ ” และนอกจากนี้ ผู้ใหญ่ลาวัลย์ มะเจียกจร ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ก็ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “เมื่ออดีตที่ผ่านมาก่อนจะมีแนวคิดชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี การขายสินค้าในชุมชนต้องเดินทางไปนอกสถานที่ บางทีไปไกลถึงกรุงเทพ แต่หลังจากนำแนวคิดชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีมาปฏิบัติ เราไม่ต้องเดินทางออกไปนอกชุมชน ก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าเช่าพื้นที่จำหน่ายสินค้า จากนั้นก็เริ่มมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในหมู่บ้านมากยิ่งขึ้น ทำให้ประชาชนในชุมชนมีโอกาสร่วมกันนำเสนอชุมชนในด้านต่าง ๆ นำมาซึ่งการสร้างรายได้ให้กับชุมชน และเมื่อมีผู้สนใจเข้ามาเที่ยวในชุมชนมากขึ้น นอกจากรายได้จากการขายสินค้าแล้ว ก็มีสร้างกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม เช่น รายได้จากที่พัก รายได้จากการจำหน่ายอาหาร รายได้

จากการจัดกิจกรรมท่องเที่ยว เป็นต้น นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างกลุ่มอาชีพให้สร้างรายได้เพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วย”อาจารย์ ดร.ภวินท์ธนา เจริญบุญ ได้กล่าวในตอนท้ายว่า การท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้วิถีชุมชน นั้น นอกจากจะได้พบกับความสวยงามของทรัพยากรทางธรรมชาติแล้ว ยังได้พบเสน่ห์ของวัฒนธรรม วิถีชีวิตในชุมชนที่น่าสนใจ ซึ่งอาจไม่เคยพบเห็นมาก่อน ช่วยให้เกิดการกระจายรายได้ และในขณะเดียวกันยังช่วยให้แต่ละชุมชนเกิดความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ อันจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยในปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนพัฒนาชุมชนต่าง ๆ ของจังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดใกล้เคียง ทั้งในด้านของการส่งเสริมกลุ่มอาชีพ การท่องเที่ยว การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ดังที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี มุ่งมั่นในการร่วมพัฒนาสังคม และประเทศชาติให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป./
////////////////////////////////////////////////
ปรีชา ไหลวารินทร์ / กาญจนบุรี

ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวทั่วไป สังคม