เลย-โรงงานน้ำตาลจัดการรณรงค์ลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ลดค่าฝุ่นละออกขนาดเล็ก PM 2.5
อ.วังสะพุง จ.เลย จัดกิจกรรมรณรงค์ลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ลดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ให้ได้ 100 % ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 26 ม.ค.2564 ณ สมาคมเกษตรกรชาวไร่อ้อยจังหวัดเลย บ้านวังไห ต.หนองหญ้าปล้อง อ.วังสะพุง จ.เลย นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานในพิธีเปิด”งานรณรงค์ลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ลดค่าฝุ่นละออกขนาดเล็ก PM 2.5” มีนายอิทธิพล รัตนวิศิษฐ์ ผู้อำนวยการด้านการผลิต บริษัท โรงงานน้ำตาลขอนแก่น(สาขาวังสะพุง) นายนภัทร ผลสอน ผู้จัดการสำนักงานด้านอ้อยโรงงานน้ำตาลขอนแก่น(สาขาวังสะพุง)พร้อมหน้าส่วนราชการ องค์กรภาคเอกชน สมาคมชาวไร่อ้อย สมาคมเกษตรกรชาวไร่อ้อย ร่วมงานจำนวนมาก มีกิจกรรมจัดนิทรรศการ การถ่ายทอดเทคโนโลยี่ทางการเกษตร การตัดอ้อยด้วยเครื่องจักร ขบวนการผลิตอ้อยและการประชุมทางวิชาการ การแสดงความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน
นายประยูร อรัญรุท นายอำเภอวัง สะพุง กล่าวรายงานว่า จ. เลย มีพื้นที่ 7,140,382 ไร่ เป็นพื้นที่การเกษตร 2,554,818 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 35.77 เกษตรกรปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก เช่น ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวนาปี อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล พืชผักและไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น พบปัญหาการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ ได้แก่ อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และฟางข้าว พื้นที่ประมาณ 1 ล้านไร่เศษ ก่อให้เกิดหมอกควันและฝุ่นละออง PM2.5 โดยเฉพาะอย่างยิ่งอ้อยโรงงาน มีพื้นที่ปลูกกว่า 278,958 ไร่ ที่มักประสบปัญหาต้นทุนการเก็บเกี่ยวอ้อย จากการขาดแคลนแรงงาน ทำให้เกษตรกรหันมาใช้วิธีการเผาใบอ้อย ก่อให้เกิดปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) มีปริมาณแนวโน้มสูงขึ้นในทุกๆปี ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ในพื้นที่จังหวัดเลย ให้เป็นจังหวัดต้นแบบปลอดการเผาอ้อยและตัดอ้อยสด รวมทั้งส่งเสริมเกษตรกรให้ตระหนักและเห็นความสำคัญถึงผลกระทบที่เกิดจากการเผาในพื้นที่การเกษตร พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพความรู้เกษตรกรให้ปลอดการเผา จึงนำเสนอทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีการเกษตรทดแทนการเผา การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาเพื่อสร้างต้นแบบให้เกษตรกรหยุดเผาอ้อย โดยการจัดกิจกรรมการรณรงค์แก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมการรณรงค์แก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร จำนวน 100 คน
ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เปิดเผยว่า การมาจัดกิจกรรมครั้งนี้โดยมีส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย เพื่อ สนับสนุนเครื่องจักเพื่อลดต้นทุนการผลิต หาความร่วมมือจากโรงงานน้ำตาล จากสมาคมฯนักธุรกิจ ภาคเอกชนสนับสนุนเครื่องจักรตัดอ้อย ขณะนี้มี 14 คัน ต้องหาเพิ่มอีก เราต้องมาช่วยกันแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ แก้ในระยะยาวเพื่อความยั่งยืน คือ ตั้งแต่การปลูก
นายอิทธิพล รัตนวิสิษฐ์ ผู้อำนวยการด้านการผลิต กล่าวว่า ปัญหาสำคัญของอ้อยปีนี้ ปัญหา คือขาดแคลนแรงงานและสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ปัญหาสำคัญคือ คือขาดแคลนแรงงานและสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 การรณรงค์นั้นทางโรงานอ้อยเริ่มเมื่อปี 2562 ลดการเผาอ้อยได้ 51 % ปี 2563 ลดได้ 25 % และจะลดให้ได้ไม่เกิน 20 % ตามคำสั่งของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล ด้านราคาอ้อยวันนี้ 920 บาท/ตันนับว่าดี รวมค่าความหวานจากอ้อยสดอีกจะด้ 1,070 บาท/ตัน ขณะที่ต้นทุนอยู่ที่ 1,140 บาท/ตัน ยอดการผลิตของโรงงานลดลงเกือบ 50 % จากสาเหตุปัญหาความแห้งแล้งไม้มีอ้อยป้อนโรงงาน รวมถึงการรณรงค์ไม่เผาอ้อย อีกด้วย
บุญชู ศรีไตรภพ จ.เลย