เลย..เปิดเทศกาลแห่ต้นดอกไม้สืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
อ.นาแห้ว จ.เลย จัดงานเทศกาลสงกรานต์และประเพณีแห่ต้นดอกไม้ สืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
เมื่อเวลา 20.00 น.วันที่ 14 เม.ย.2564 ณ วัดศรีโพธิ์ชัย บ้านแสงภา หมู่ 1 ต.แสงภา อ.นาแห้ว จ.เลย นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานในพิธีเปิด”เที่ยวเทศกาลสงกรานต์และประเพณีแห่ต้นดอกไม้ “ พร้อมด้วย ส่วนราชการ องค์กรท้องถิ่น ภาคเอกชน ประชาชน นักท่องเที่ยว ร่วมงานจำนวนมาก พร้อมด้วยมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 เคร่งครัด เนื่องจากได้ว่างเว้นไป 1 ปี กับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 “ ซึ่งได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวและประชาชนจำนวนมากกับงานประเพณีแห่ต้นดอกไม้ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.นาแห้ว จนท.สาธารณสุขอำเภอนาแห้ว รพ.นาแห้ว และ อบต.แสงภา รวมทั้งนายบัณฑิต นันตะวงษ์ อส.สมาคมกู้ชีพกู้ภัยจุด อ.นาแห้ว พร้อมทีมงานร่วม บริการรักษาความปลอดภัยด้านป้องกันอุบัติเหตุและป้องกันโรคโควิด-19
นายอาคม ภูละคร รักษาการนายอำเภอนาแห้ว กล่าวว่า เทศกาลสงกรานต์และประเพณีแห่ต้นดอกไม้ ของ ต.แสงภา อ.นาแห้ว จ.เลย ที่ เป็นเมืองชายแดน ระหว่างไทย-สปป.ลาว ด้านนี้ที่มีแม่น้ำเหืองเป็นพรมทแดนกั้น ตั้งอยู่ห่วงจากตัวเมืองเลย 120 กิโลเมตา ประเพณีแห่ต้นดอกไม้ของชาวนาแห้ว ทำขึ้นเพื่อบูชาพระธรรม และ เพื่อบูชาพระสงฆ์เพื่อบูชาพระรัตนตรัย ที่ประชานจะมีความนับถือปฏิบัติสืบทอดกันมาโดยเฉพาะรักษาศีลปฏิบัติธรรม เช่น ในวันพระจะละเว้นจากกินเนื้อสัตว์และการทำงานทุกอย่าง จะพากันเข้าวัด ฟังธรรม ทำบุญสร้างกุศล ประเพณีแห่ต้นดอกไม้ ที่สืบทอดกันมายาวนามกว่า 474 ปี ได้เริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างวัด
ประเพณีแห่ต้นดอกไม้ มีการแห่ตั้งแต่ก่อสร้างวัดแล้วเสร็จจนถึงปัจจุบันกว่า 400 ปี แล้ว ชาวบ้านเกิดความเชื่อว่า การนำดอกไม้มาบูชาพระที่ชาวไทยถือว่าวันสงกรานต์ เป็นวันขึ้นปีใหม่ การบูชาพระรัตนตรัยด้วยดอกไม้ถือว่าเป็นสิ่งอันมงคล ด้วยการเก็บดอกไม้ที่สด ดอกสวยงามที่สุด เป็นดอก เป็นช่อ และพัฒนาเป็นพานพุ่ม พานบายศรี ขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ จนพัฒนาไปถึงการทำโครงด้วยไม้เรียกว่าต้นดอกไม้ ขนาดเล็กถือคนเดียว ขนาดกลางใช้คนหาม 4 คน และขนาดใหญ่ใช้คนหาม 6-10 คน โดยชาวบ้านมีความเชื่อและถือเป็นสิริมงคล ที่ได้นำดอกไม้มาบูชาพระรัตนตรัย ขอให้อยู่ดีมีสุข ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ให้ข้าวกล้าในนาอุดมสมบูรณ์ บ้านเมืองร่มเย็น ปราศจากโรคภัย ไข้เจ็บ วัว ควาย สัตว์เลี้ยงขยายคอกออกผลสมบูรณ์ ประเพณีการแห่ต้นดอกไม้ มีการแห่ทุกปี เริ่มจากวันสรงน้ำพระพุทธรูป เริ่มวันที่ 13 เมษายน โดยหลักปฏิบัติจะเริ่มแห่ตั้งแต่วันที่ 13-16 เม.ย. ติดต่อกันและจะมีการแห่ต้นดอกไม้ทุกคืนวันพระ ตลอดเดือนเมษายนของทุกปี การแห่ต้องแห่ตอนกลางคืนราว 1 ทุ่ม ถึง 3 ทุ่ม และต้องมาแห่ที่วัดรอบพระอุโบสถเท่านั้น และต้องแห่ให้ครบ 3 รอบ รอบที่ 1 บูชาพระพุทธ รอบที่ 2 บูชาพระธรรม รอบที่ 3 บูชาพระสงฆ์ เมื่อแห่ครบทั้ง 3 รอบแล้ว ต้องวางต้นดอกไม้ทุกต้นไว้รอบพระอุโบสถ เพื่อบูชาพระรัตนตรัยตลอดทั้งคืน รุ่งเช้านำต้นดอกไม้ออกจากวัด ถ้าต้นไหนยังแข็งแรงไม่เสียรูปทรง สามารถนำมาเปลี่ยนดอกไม้ใหม่ เพื่อนำไปแห่ในคืนต่อไป การแห่ ผู้หามต้นดอกไม้ต้องโยกประกอบจังหวะให้ต้นดอกไม้หมุนซ้าย ขวา ตามจังหวะเสียงกลอง ฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ ที่บรรเลงประกอบจนครบ 3 รอบ ต้องติดเทียนและจุดเพื่อให้เกิดแสงสว่างด้วยทุกต้น สำหรับโครงสร้างต้นดอกไม้ ประกอบโครงสร้างด้วยไม้ไผ่ทั้งหมด ไม่มีลวด ตะปู ผูกหรือตอก โครงสร้างที่สำคัญ มีชื่อตามภาษาถิ่น คือ 1 คาน (ฐานรากใช้หาม) 2 ขาธนู (ส่วนยึดคาน) 3 ง่าม (เสาของต้นดอกไม้) 4 พ่ง (ตัวรัดมุมขนาด) 5 ดวด (ส่วนรัดลำต้น) 6 แกนกลาง แกนค้ำยัน 7 ลี้ก (ระแนงสานรอบต้น) 8 คันกล่อง (ส่วนประกอบสำหรับห้อยสายมาลัย) และ 9 แมงมุม (ส่วนประกอบยอดสูงสุด) การสร้างต้นดอกไม้ต้องนำอุปกรณ์และดอกไม้สดมาประกอบสร้างให้เสร็จภายในวันเดียว จากนั้นจะนำต้นดอกไม้ไปรวมกันที่วัดเพื่อรอเวลาแห่ในตอนค่ำ ก่อนถึงเวลาแห่ทุกคนจะไปรวมตัวกันที่วัด เมื่อถึงเวลาแห่ต้องโยกต้นไม้หมุนตามจังหวะกลองอย่างสวยงาม ต้นใหญ่สุดมีความกว้าง 3 เมตร สูง 15 เมตร”
———————–///——————-
บุญชู ศรีไตรภพ จ.เลย