ราชบุรี – สุดช้ำ! สาวร้านส้มตำเจอพิษโควิด หวังกู้เงินลงทุนขายของ แต่เจอแก๊งต้มตุ๋นหลอกโอนเงินค่ามัดจำ

ราชบุรี – สุดช้ำ! สาวร้านส้มตำเจอพิษโควิด หวังกู้เงินลงทุนขายของ แต่เจอแก๊งต้มตุ๋นหลอกโอนเงินค่ามัดจำ

ราชบุรี – สุดช้ำ! สาวร้านส้มตำเจอพิษโควิด หวังกู้เงินลงทุนขายของ แต่เจอแก๊งต้มตุ๋นหลอกโอนเงินค่ามัดจำ

สาวเมืองอุบล มาเปิดร้านขายส้มตำกับแม่ที่ อ.โพธาราม เจอพิษโควิด หวังกู้เงินมาลงทุนขายของและเสียค่ารถจยย. แต่ถูกแก๊งต้มตุ๋นหลอกให้โอนเงินค่ามัดจำ 5 พันบาทแลกเงินกู้ 5 หมื่น สุดท้ายถูกเบี้ยวติดต่อไม่ได้ พอตรวจสอบกับถูกข่มขู่ และอ้างเป็นบริษัทโรงรับจำนำชื่อดังจ.ราชบุรี ขณะบริษัทฯที่ถูกสวมรอยออกมาเตือน อย่าหลงเชื่อ ย้ำให้บริการรับจำนำเท่านั้น ไม่มีบริการปล่อยสินเชื่อทางออนไลน์

วันที่ 10 พ.ค.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้เดินทางไปที่ร้านส้มตำบริเวณ หมู่ที่ 2 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เพื่อพบกับ น.ส.เบญจพรรณ ปันคำ อายุ 34 ปี หนึ่งในผู้เสียหายอีกหลายสิบคนที่เสียรู้กู้เงินออนไลน์ โดยได้ให้ข้อมูลว่า ตนเป้นชาวจ.อุบลราชธานี ได้มาประกอบอาชีพเปิดร้านขายส้มตำกับแม่นานแล้ว แต่ช่วงสถานการณ์โดวิด-19 ทำให้ร้านของตนไม่สามารถขายของได้ จึงทำให้ทุนที่มีเริ่มหมดไป และประกอบกับตนได้ออกรถจยย.มาใหม่ จึงทำให้ไม่มีเงินไปจ่ายค่างวดรถจยย. แต่เมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา ตนได้รับสายจากหมายเลข 020-303619 อ้างว่าเป็นบริษัทสินเชื่อ และบอกกับตนสามารถกู้เงินได้โดยไม่ต้องมีคนค้ำ ตนจึงเกิดความสนใจและลงสมัคร พร้อมแอลไลน์ของบริษัทสินเชื่อ เพื่อกรอกข้อมูลสมัครผ่าน app ซึ่งขั้นตอนเหมือนของธนาคาร

หลังสมัครเสร็จบริษัทสินเชื่อแจ้งว่า ตนสามารถกู้เงินได้ 5 หมื่นบาท แต่ต้องมีเงินค้ำประกัน 5 พันบาท ซึ่งจะคือให้หลังได้รับการอนุมัติเงินกู้ ทำให้ตนหลงเชื่อโอนเงินไป 5 พันบาท เพื่อหวังเงินกู้ 5 หมื่นบาท และต่อมาไม่นานทางบริษัทสินเชื่อได้แจ้งตนมาว่า ได้อนุมัติสินเชื่อให้ตนแล้ว แต่เลขบัญชีของตนที่ส่งไปให้นั้นมีผิดไป 1 ตัว จึงทำให้โอนเงินกู้ 5 หมื่นให้ตนไม่ได้ และต้องมีค่าดำเนินการแก้ไขอีก 2 หมื่นบาท แต่ตนไม่มีเงิน 2 หมื่นบาทโอนให้ จึงปฏิเสธไปและขอเงิน 5 พันบาทคือ แต่กลับถูกทางบริษัทสินเชื่ออ้างกฎหมายข่มขู่ฟ้องเพราะผิดสัญญา

น.ส.เบญจพรรณ เล่าต่อว่า จนล่าสุดตนได้พยายามทวงเงิน 5 พันบาทคืออีกแต่กับถูกพูดจากข่มขู่ใส่ต่างๆนาๆ และไม่สามารถติดต่อได้อีก ทำให้ตนสืบหาข้อมูลบริษัทสินเชื่อ เพื่อทวงเงินคือจนทราบว่า ชื่อบริษัท ซีมันนี่ (แคปปิตอล) จำกัด จึงติดต่อไปสอบถามเพื่อขอเงินคือ แต่ได้รับการปฏิเสธไม่รู้เรื่อง ทำให้ตนรู้ตัวว่าถูกหลอกลวง และตนยังตรวจสอบพบว่า บริษัทกรุงไทย เยาวราช จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ภายในจ.ราชบุรี และเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ถูกสวมรอย จึงได้ไปติดต่อปรึกษาเพื่อเตรียมตัวไปแจ้งความที่ สภ.โพธาราม ซึ่งหลังจากที่ตนถูกหลอกทำให้ตนเสียเงินเก็บก้อนสุดท้ายไป 5 พันบาท และทำให้ครอบครัวของตนรู้สึกสิ้นหวัง ทำให้ตนอยากฝากเตือนทุกคนอย่าไปหลงเชื่อในการกู้เงินออนไลน์ เพราะอาจจะถูกหลอกแบบเดียวกับตนได้

ขณะที่ นางแดง ชาว.จ.กาญจนบุรี ซึ่งได้มาทำงานที่ จ.ราชบุรี กว่า 10 ปี ได้ให้ข้อมูลว่า เมื่อ 2 ปีที่แล้วตนเองเคยตกเป็นเหยื่อจากกลโกงของกลุ่มหลอกลวงให้กู้เงินถึง 2 ครั้ง โดยจะให้ตนโอนเงินไปก่อนแล้วถึงจะให้กู้เงิน เช่นเราจะกู้ 1 หมื่นบาท ต้องโอนเงินไปเป็นค่ามัดจำ 1 พันบาท โดยตนโดนมาแล้วถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก 1 พันบาท และครั้งที่สอง 2 พันบาท จึงทำให้ตนรู้ว่าการกู้เงินแบบนี้ไม่มีจริง เป็นการหลอกลวงและไม่อยากให้ใครตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพพวกนี้

ส่วนนางมาลา ปันคำ แม่ของ น.ส.เบญจพรรณ ได้กล่าวว่า หลังจากที่ลูกสาวถูกหลอกเงินค่ามัดจำไป ทั้งบ้านตนมีเงินเหลืออยู่แค่ 300 บาท จะซื้ออะไรก็ไม่ได้ ซึ่งมิจฉาชีพที่หลอกลวงลูกสาวตนไป ได้ทำทุกอย่างเหมือนบริษัทสินเชื่อ ซึ่งตนคิดว่าต้องทำกันเป็นขบวนการ และอยากฝากให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องช่วยติดตามกลุ่มมิจฉาชีพกลุ่มนี้มาลงโทษ เพราะถือว่ามาซ้ำเติมคนทุกข์ยากในช่วงโควิดระบาด ซึ่งเงินก้อนนี้เป็นก้อนสุดท้ายในชีวิตของครอบครัวตนและเป็นความหวังสุดท้ายของพวกตน

นายทัศไนย เล้าพูนพิทยะ ทนายความประจำบริษัทกรุงไทย เยาวราช จำกัด ซึ่งได้รับมอบหมายจากนางสาวขวัญใจ กมลพันธ์ทิพย์ ผู้จัดการบริษัทกรุงไทยเยาวราช จำกัด ให้เป็นตัวแทนติดตามเรื่องดังลก่าว โดยได้เปิดเผยว่า ทางบริษัทกรุงไทย เยาวราช จำกัด ตั้งอยู่ภายในปั๊มน้ำมันเชลล์ สาขาโพธาราม ถูกกลุ่มมิจฉาชีพสวมรอย และสร้าง app กู้เงินอนไลน์ หลอกประชาชน โดยเมื่อวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้มีลูกค้าส่งไปรษณีย์มาที่บริษัท ว่าขอยกเลิกสัญญาเงินกู้ที่ได้ทำไว้ ทางบริษัทได้ทำการตรวจสอบ ก็แปลกใจ เพราะบริษัททำกิจการโรงรับจำนำ ที่ได้รับใบอนุญาตถูกต้องจากทางผู้ว่าราชการจ.ราชบุรี ไม่เคยมีวัตถุประสงค์ในการให้สินเชื่อหรือปล่อยเงินกู้ทางออนไลน์กับประชาชนทั่วไป พอเข้าไปตรวจสอบข้อมูลภายในสัญญา จึงได้ติดต่อไปยังเบอร์ลูกค้าที่ส่งมาทำการยกเลิกสัญญากับเรา

ทางบริษัทได้ประสานงานไปและได้ทราบข้อมูลมาว่า กลุ่มมิจฉาชีพได้ใช้ app line ติดต่อมายังลูกค้า เมื่อลูกค้าหลงเชื่อก็ได้กด link เข้าไปดูใน app เป็น app หน้าสัญญาเงินกู้ต่างๆ ก็เป็น appลักษณะคล้ายๆเป็นเทวดาสวมชฏาขึ้นมา พอลูกค้าเข้าไปกรอกข้อมูลพวกรหัสบัตรประจำตัวประชาชน ที่อยู่ ชื่อนามสกุล เลขที่บัญชี และความประสงค์จะกู้เงินตั้งแต่จำนวน 15,000 บาท ถึง 1 แสนบาท ก็จะมีขั้นตอนการให้กู้ ระยะเวลาการผ่อนชำระเช่น 12 เดือน 18 เดือน 24 และ 36 เดือน พอลูกค้ากรอกข้อมูลเข้าไปในแอพก็จะคำนวนเป็นสินเชื่อมาให้ว่าจะผ่อนชำระเดือนละเท่าไหร่ อย่างไร พอกดเข้าไปลูกค้าจะต้องเซ็นรายมือชื่อลงไปในระบบอิเล็กทรอนิกส์ รายมือชื่อลูกค้าก็จะไปปรากฏในสัญญา จากนั้นกลุ่มมิจฉาชีพก็แจ้งว่า จะมีค่าสัญญาและค่ามัดจำประมาณ 10-20 % ของจำนวนเงินกู้ที่อนุมัติ ลูกค้าจึงเริ่มแปลกใจว่าลูกค้าจะมากู้แต่ทำไมต้องเสียเงิน

นายทัศไนย กล่าวต่อว่า ซึ่งลูกค้าบางรายมีการโอนเงินไปตามขั้นตอนที่มิจฉาชีพแนะนำ ส่วนลูกค้าบางรายก็ไม่โอนเงิน โดยวิธีการของแก๊งมิจฉาชีพจะมีการส่งเป็นรหัสเข้ามาให้ว่าลูกค้าต้องโอนเงินเข้าไปในภายใน 10 นาที และจะได้รับเงินที่กู้ แต่เมื่อลูกค้าบางคนโอนเข้าไปก็ปิด เฟส ไลน์ และล็อคแอพหนีไป แต่ลูกค้าบางรายที่ไม่โอนเงินก็จะมีการติดต่อเข้ามา และปริ้นเป็นหน้าสัญญาเงินกู้ที่ลูกค้าทำไป และมีการข่มขู่ว่าสัญญาผ่านแล้วถ้าไม่ทำ จะมีค่ายกเลิกสัญญา ประมาณ 300 – 1000 ตามขั้นตอน เมื่อลูกค้าไม่ชำระ จะมีการข่มขู่ว่า หากไม่ชำระจะเป็นการฉ้อโกงจะเป็นการหลอกลวงให้บริษัทเสียหาย

บางทีจะแกล้งว่า บริษัทนั้นจะทำการแจ้งไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลังต่างๆ และปลอมแปลงสัญญาจากทางธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าลูกค้าติดแบล็คลิสต์ ติดเครดิตรบูโรต่างๆ ทำให้ลูกค้าเกิดความหวาดกลัว จนต้องยอมเงินเงินให้ไป บางรายถูกใช้คำข่มขู่ที่ไม่สุภาพ ทำให้ลูกค้าที่สงสัยและส่งข้อมูลมาสอบถามบริษัทเรา บริษัทเราพอตรวจสอบแล้วไม่มีการดำเนินกิจการดังกล่าว จึงไปขยายผลถึงเลขที่บัญชีที่ลูกค้าโอนไป เป็นบัญชีธนาคารใด ชื่ออะไร พอตรวจสอบบัญชีปลายทางผู้รับโอนเป็นบัญชีของผู้ที่อยู่ตามตะเข็บชายแดนจ. เชียงใหม่ จ.เชียงราย หลายๆคน บางคนเป็นอาชีพที่ไม่ชัดเจน มีอายุน้อย บางคนก็เป็นรายชื่อที่ไม่น่าเชื่อถือ คาดว่า จะถูกแก๊งมิจฉาชีพนำรหัสบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ไปเปิดบัญชีและมาหลอกลวง ซึ่งจะมีตัวการใหญ่

ปัจจุบันบริษัทตรวจสอบแล้วพบผู้เสียหายประมาณ 20 ถึง 30 รายใช้ชื่อบริษัท กรุงไทย เยาวราช จำกัด และบริษัทอื่น ซึ่งเบื้องต้นเมื่อวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา ทางบริษัทได้มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจไปแจ้งความที่ สภ.โพธาราม ในข้อหานำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย ทางพนักงานสอบสวนกำลังขยายผลไปถึงผู้เสียหายที่มีการโอนเงินไปแล้วบางราย ว่าอยู่จังหวัดใดบ้าง ซึ่งเท่าที่ทราบมีทั้ง กรุงเทพมหานคร จ.กำแพงเพชร, สกลนคร, ชลบุรี, ราชบุรี, ประจวบคีรีขันท์ ฉะเชิงเทรา และอีกหลายจังหวัด

////////////////////////////////////////

สุจินต์ นฤภัย(เต้) จ.ราชบุรี

ร้องทุกข์ ร้องเรียน