“พรรคประชาชาติ” ขานรับข้อเสนอคนพื้นที่ ทั้งนักการศาสนา นักการศึกษา และประชาชน ชงเปลึ่ยนนโยบาย “จะนะเมืองอุตสาหกรรม” เป็น “จะนะเมืองการศึกษา”

“พรรคประชาชาติ” ขานรับข้อเสนอคนพื้นที่ ทั้งนักการศาสนา นักการศึกษา และประชาชน ชงเปลึ่ยนนโยบาย “จะนะเมืองอุตสาหกรรม” เป็น “จะนะเมืองการศึกษา”

“พรรคประชาชาติ” ขานรับข้อเสนอคนพื้นที่ ทั้งนักการศาสนา นักการศึกษา และประชาชน ชงเปลึ่ยนนโยบาย “จะนะเมืองอุตสาหกรรม” เป็น “จะนะเมืองการศึกษา” ใช้ช่องทางตามกฎหมาย ศอ.บต.มาตราเดียวกับที่กำหนดให้จะนะเป็น “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” แต่ถูกชาวบ้านคัดค้านอย่างหนักมาตลอด

วันอาทิตย์ที่ 23 ต.ค.65 ที่ห้องประชุมโรงเรียนสันติวิทย์ ต.บ้านนา อ.จะนะ จ.สงขลา พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ พร้อมด้วย นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรค เข้าร่วมประชุมและรับข้อเสนอจากตัวแทนนักการศาสนา นักการศึกษา และพี่น้องประชาชนชาวจะนะ ที่เสนอขอให้เปลี่ยนจะนะจาก “เมืองอุตสาหกรรม” ที่เคยใช้ช่องทางของพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2563 หรือ พ.ร.บ.ศอ.บต. เป็นจะนะ “เมืองการศึกษา”

ทั้งนี้ นโยบายเปลี่ยนจะนะเป็น “เมืองอุตสาหกรรม” นั้น ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) อาศัยความตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 เป็นช่องทางในการทำโครงการ เรียกว่า “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” จะมีการสร้างท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม

ช่องทางตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ศอ.บต. ระบุว่า ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) อาจกำหนดให้เขตพื้นที่ใดในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ และกำหนดกรอบแนวทางการบริหารและการพัฒนาในเขตพื้นที่นั้นได้

ดังนั้นจึงไม่แปลกหากจะใช้ช่องทางเดียวกันนี้ กำหนดให้จะนะเป็น “เมืองแห่งการศึกษา” ซึ่งประชาชน และนักวิชาการ ตลอดจนผู้นำศาสนา ให้สมญานามว่า “จะนะเมืองอุลามาอ์”

พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า “เขตพัฒนาพิเศษ” จะให้ความสำคัญเรื่องการศึกษา และการศึกษาของเด็กเราในอนาคตจะได้ไม่ต้องไปเรียนที่อื่น วันนี้เราไปเรียนที่อื่นเพราะต้องการการเรียนที่มีคุณภาพ เราก็อพยพไปเรียนมาเลเซีย เพราะการเรียนที่มาเลเซียมีคุณภาพ ทั้งที่ในอดีตไปดูประวัติ จะนะเป็นดินแดนที่คนมาเรียน

“ดังนั้นผมคิดว่า ในช่องของ ศอ.บต.มี 2 ส่วน คือ การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา แล้วพื้นที่จะนะเหมาะที่สุด มรดกทางวัฒนธรรมคือ ต้นทุนของนักปราชญ์ ต้นทุนของนักการศึกษา ถ้าเราจะพัฒนาสงขลาเป็นเมืองการศึกษา และเป็นเมืองของการท่องเที่ยวเชิงการศึกษา มีหลักสูตรสั้นๆ เกิดขึ้น ผมเห็นด้วย”

พ.ต.อ.ทวี บอกด้วยว่า “ส่วนนี้น่าจะไปอยู่ในนโยบายของพรรค เมื่อพรรคประชาชาติเข้ามาเป็นรัฐบาล เรามีนโยบายที่เขาจะทำเป็นนิคมอุตสาหกรรม อันนี้เราเห็นด้วยกับการพัฒนา แต่เราเปลี่ยนจากอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมชื่อมันก็บอกแล้วมันมีกรรม แล้วมันก็จะมีกรรมไปเรื่อย ถ้าเป็นเมืองของการพัฒนาการศึกษา เป็นการพัฒนาศักยภาพของพี่น้อง ถ้าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อันนี้ผมเห็นด้วยนะ แล้วก็ใช้กฎหมาย ศอ.บต.ตรงนี้ให้เป็นประโยชน์”

การเมือง