อำเภอพิชัย อุตรดิตถ์ จัดกิจกรรมการปลูกไม้ผลอัตลักษณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ที่พิพิธภัณฑ์บ้านเกิดพระยาพิชัยดาบหัก หมู่ที่ 9 ตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
เมื่อเวลา 09.00 น.ของวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 ที่พิพิธภัณฑ์บ้านเกิดพระยาพิชัยดาบหัก หมู่ที่ 9 ตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ พระปัญญากรโมลี ดร. เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ เดินทางมาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในกิจกรรมการปลูกไม้ผลอัตลักษณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ที่พิพิธภัณฑ์บ้านเกิดพระยาพิชัยดาบหัก หมู่ที่ 9 ตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
โดยมีนายสุรศักดิ์ วงศ์ตั้ง นายอำเภอพิชัย นางบุณฑริกา ยอดไพบูลย์ พัฒนาการอำเภอพิชัย นายทวีวัฒน์ อินมาสม ประธานชมรมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านอำเภอพิชัย นางวรพรรณ สุวรรณชื่น ประธานชมรมพิชยรักษ์ นางสุรีย์ แสงทอง ผอ.สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดอุตรดิตถ์พร้อม สำนักงานเกษตรอำเภอพิชัย สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพิชัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรมการปลูกไม้ผลอัตลักษณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ที่พิพิธภัณฑ์บ้านเกิดพระยาพิชัยดาบหัก หมู่ที่ 9 ตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นที่ทราบกันดีว่าสินค้าเกษตรในกลุ่มไม้ผลซึ่งเป็นพืชสวนที่สร้างมูลค่าให้ประเทศไทยได้มาก โดยผลไม้ในกลุ่มเศรษฐกิจหลักที่มีการส่งออกมากที่สุด คือ ทุเรียน ลำไย มังคุด มะม่วง เงาะ ลิ้นจี่ และลองกอง ตามลำดับ ในขณะที่ผลไม้พื้นถิ่นซึ่งเป็นผลไม้ในกลุ่มรองก็มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและได้รับความนิยมสูงไม่แพ้กัน ซึ่งจะเห็นได้จากมูลค่าการซื้อขายในประเทศสูง มีตลาดเฉพาะ จึงส่งเสริมให้เกษตรกรคัดเลือกพืชในพื้นที่ขึ้นมาเป็นผลไม้อัตลักษณ์ การจัดกิจกรรมปลูกไม้ผลอัตลักษณ์ จัดขึ้น ณ บ้านเกิดพระยาพิชัยดาบหัก หมู่ที่ 9 ตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และวัตถุประสงค์แรก เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่มา เยี่ยมเยียนบ้านเกิดท่านพ่อฯ ไม่มีโอกาสได้เห็นต้นผลไม้ที่เป็นอัตลักษณ์และสร้างรายได้หลัก ให้จังหวัดอุตรดิตถ์ นอกจากรายได้จากการผลิตข้าว เป็นการเพิ่มจุดสนใจและความหลากหลายในพื้นที่ท่องเที่ยวบ้านเกิดท่านพ่อฯ นี้ และเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญมุ่งเน้นการพัฒนา การเกษตร เศรษฐกิจและสังคมที่มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น ซึ่งมีเรื่องราวแหล่งกำเนิดสินค้า (story) ที่ทำให้สินค้ามีความแตกต่างจากสินค้าที่ผลิตจากแหล่งอื่น ๆ มีความโดดเด่น มีศักยภาพ และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ สามารถสร้างมูลค่าและนำไปส่งเสริมให้เกษตรกร เพื่อสร้างอาชีพ และรายได้ โดยส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาการผลิต และเพิ่มมูลค่าผลผลิต ตลอดจนการแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย สามารถพัฒนายกระดับเพื่อเข้าสู่การรับรองมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI : Geographical Indications) ต่อไป
ณัฐวัฒน์ ราชประสิทธ์ ภาพ/ข่าวอุตรดิตถ์